ภาพรวม

           มูลนิธิเอ็มพลัส ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2546 ภายใต้ชื่อ “โครงการเพื่อชายรุ่นใหม่ใส่ใจสุขภาพ” ได้รับทุนสนับสนุนจาก องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) จดทะเบียนมูลนิธิเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2554  ปัจจุบันเอ็มพลัสเป็นองค์กรระดับประเทศที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดบริการด้านการป้องกันเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การลดการตีตราและเลือกปฏิบัติ โดยใช้นวัตกรรมเพื่อเข้าถึงกลุ่มประชากรหลักในพื้นที่ ประกอบด้วย ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย สาวประเภทสอง พนักงานบริการ ผู้ใช้สารเสพติด และเยาวชน เน้นการทำงานเพื่อลดการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ลดการเสียชีวิตจากเอดส์ และลดการตีตราและเลือกปฏิบัติจากเอชไอวี/เอดส์และความต่างจากเหตุแห่งเพศ  เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการยุติเอดส์ตามแผนยุทธศาสตร์เอดส์ชาติปี พ.ศ. 2560-2573 มูลนิธิเอ็มพลัสดำเนินงานตามรูปแบบ KPLHS (Key population-led Health Services) การให้บริการที่ “นำโดยชุมชน” ทำให้มั่นใจว่าชุดบริการเป็นไปตามความจำเป็น ตรงตามความต้องการของกลุ่มประชากรที่ได้รับผลกระทบในชุมชน โดยยึดชุมชนเป็นศูนย์กลางภายใต้บริการที่มีคุณภาพตามมาตรฐานของประเทศ ด้วยชุดบริการ R-R-T-T-P-R (Reach-Recruit-Test-Treat-Prevent-Retain) นอกจากนี้เอ็มพลัสได้ร่วมจัดบริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนการสัมผัสเชื้อ (Pre-exposure prophylaxis: PrEP) ร่วมกับโรงพยาบาลนครพิงค์ “นครพิงค์โมเดล” ซึ่งเป็นแนวทางการจัดบริการ PrEP ให้ประเทศสามารถนำโมเดลนี้ไปขยายต่อยังพื้นที่ต่าง ๆ

           ประสบการณ์การทำงานของมูลนิธิเอ็มพลัสที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นรูปแบบการทำงานที่เข้าถึงกลุ่มประชากรหลักได้เป็นอย่างดี ทำให้มีการขยายพื้นที่ไปเปิดมูลนิธิเอ็มพลัส จังหวัดเชียงรายในปี พ.ศ 2560จังหวัดพิษณุโลกในปี พ.ศ. 2561 และจังหวัดนครราชสีมาในปี พ.ศ. 2563 ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจาก USAID, GF (Global fund) และสปสช (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) นอกจากนี้ เอ็มพลัสยังทำงานร่วมกับภาครัฐและโรงพยาบาลเพื่อจัดกิจกรรมและให้บริการตรวจเอชไอวีในอีก 6 จังหวัดได้แก่ ลำปาง ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ และสุรินทร์

          เอ็มพลัสมีความโดดเด่นในการทำงานเชิงรุกเพื่อเข้าถึงกลุ่มประชากรเป้าหมาย สร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และแจกอุปกรณ์ป้องกัน ถุงยางอนามัยและสารหล่อลื่น ผ่านกิจกรรมต่างๆ  ทั้งการเข้าถึงแบบตัวต่อตัวและแบบกลุ่ม การจัดกิจกรรมรณรงค์ การเข้าถึงคนที่มีความเสี่ยงสูงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และจากกิจกรรมในพื้นที่ต่างๆ ส่งผลให้กลุ่มประชากรเป้าหมายมีทางเลือกในการป้องกันเอชไอวีที่เหมาะกับวิถีชีวิตของตน เข้าถึงการตรวจเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างสะดวก เข้าถึงการรักษาด้วยยาต้านไวรัสทันที

          เอ็มพลัสมีเจ้าหน้าที่ชุมชนที่เป็นกลุ่มประชากรหลักที่ผ่านการอบรมและได้รับการรับรองจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ให้บริการร่วมกับสหวิชาชีพ ได้แก่แพทย์ พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ เภสัช เพื่อให้บริการตรวจเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ฟรี สำหรับประชาชนทุกกลุ่ม ให้บริการรักษาเอชไอวีด้วยยาต้านไวรัสภายในวันเดียวกับที่ทราบผล (Same-day ART ) รักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ บริการยาป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อเอชไอวี (PrEP) ยาป้องกันเชื้อเอชไอวีหลังการสัมผัสเชื้อ (PEP) เป็นต้น

          เอ็มพลัสเป็นองค์กรภาคประชาสังคมแห่งแรกของประเทศไทยที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยรับส่งต่อเฉพาะด้านเทคนิคการแพทย์ โดยคลินิกเทคนิคการแพทย์เอ็มพลัสขึ้นทะเบียนในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 และทั้ง 4 ศูนย์ของมูลนิธิเอ็มพลัส ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยจัดบริการเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในชุมชน ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช)  ให้ “เอ็มพลัส “เป็นพื้นที่ปลอดภัย อยู่ในความรู้สึกและจิตใจของเพื่อนๆ เรา เพื่อให้เอ็มพลัสร่วมสร้างประสบการณ์ความสุขและความทรงจำให้กับทุกคน where community fulfills your happiness …ชุมชนที่เติมเต็มความสุขให้กับทุกคน…”

ปี 2546
ทางองค์กร PATH (ประเทศไทย)

ร่วมมือกับองค์กรเอกชนด้านเยาวชน เก็บข้อมูลประเด็นเรื่อง พฤติกรรมเสี่ยงและการดูแลสุขภาพชายในจังหวัดเชียงใหม่

ปี 2554
6 พฤษภาคม 2554

จดทะเบียนเป็นมูลนิธิเอ็มพลัส

ปี 2558
กันยายน 2558

เริ่มให้บริการตรวจเอชไอวีภายใน DIC โดยใช้รูปแบบการโมบาย ควบคู่กับการส่งต่อภาคีภายนอก และพัฒนาระบบการทำงาน โดยใช้ระบบ Peer Mobilizer เข้ามาช่วยในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ต่างๆและเก็บข้อมูลใน Commcare Application

ปี 2560
7 มีนาคม 2560

ได้รับการรับรองมาตรฐานศูนย์บริการชุมชน ในการจัดบริการตรวจHIV/STI ในระดับเพชร จากกรมควบคุมโรค

29 มีนาคม 2560 จดทะเบียนคลินิกเทคนิคการแพทย์เอ็มพลัส

2560 ขยายการทำงานไป จังหวัดเชียงราย

ปี 2561
สิงหาคม 2561

2561 คลินิกเทคนิคการแพทย์เอ็มพลัส ได้รับการประกาศรับรองระบบบริหารคุณภาพ ตามมาตรฐานงานเทคนิคการแพทย์ (LA) จากสภาเทคนิคการแพทย์ ได้รับงบประมาณ สปสช. ปีแรกในการดำเนินงานและจัดบริการให้กลุ่มประชากรหลักในจังหวัดเชียงใหม่

2561 ขยายการทำงานไปจังหวัดพิษณุโลก

ปี 2562
1 ตุลาคม 2562

ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สปสช

ปี 2563
ขยายการทำงาน

ไปจังหวัด ลำปาง เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์

ปี 2564
ขยายการทำงาน

ไปจังหวัดนครราชสีมา และ จังหวัดตาก

เอ็มพลัสภูมิใจนำเสนอแผนกลยุทธ์ 5 ปี
พ.ศ. 2566-2570

ความใฝ่ฝันของเราคือการสร้างความแตกต่างในชีวิตของเยาวชน LGBTQI+ ในประเทศไทย เรามุ่งมั่นที่จะส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของ LGBTQI+ ทุกคน โดยมุ่งเน้นไปที่ความต้องการของสมาชิกที่อายุน้อยกว่าในชุมชน เราจะพยายามทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สื่อสารประสบการณ์และบทเรียนของเราให้กับพันธมิตรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

LGBTQI+ ทุกคนและกลุ่มประชากรหลัก โดยเฉพาะเยาวชน สามารถเข้าถึงและได้รับประโยชน์จากบริการ เอชไอวี/สุขภาวะทางเพศ และจากบริการทางสังคมที่พวกเขาต้องการ ด้วยสิทธิที่เท่าเทียมกัน

เพื่อเป็นผู้นำไปสู่การสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศและสิทธิของ LGBTQI+ – บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ และให้บริการที่ครอบคลุมโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง  เช่น สุขภาพทางเพศ การคุ้มครองทางสังคม และการสนับสนุนด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมในสังคม

“ภายในปี 2573 กลุ่ม LGBTQI+ ทุกคน โดยเฉพาะกลุ่ม LGBTQI+ ที่อายุน้อยหรือเยาวชน และกลุ่มประชากรหลัก(เยาวชน และวัยรุ่น) จะสามารถเข้าถึงและรับประโยชน์จากเอชไอวี/บริการสุขภาพและสังคมที่พวกเขาต้องการด้วยสิทธิที่เท่าเทียมกัน”

  1.  เพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของ LGBTQI+ ทุกคน
  2. เพื่อเร่งการยุติโรคเอดส์และคงไว้ซึ่งการควบคุมการแพร่ระบาดโดยการขยายบริการ SRHR/STI/HIV ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางสำหรับประชากรหลักทั้งหมด โดยเฉพาะประชากรหลักที่เป็นวัยรุ่น หรือเยาวชน อายุ 10-24 ปี
  3. เสริมสร้างศักยภาพภายในองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความยั่งยืน
  4. เพื่อพัฒนาโครงการด้านเอชไอวี/สุขภาพของประชากรที่สำคัญผ่านการถ่ายทอดความรู้และทักษะในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
  5. เพื่อเพิ่มความยั่งยืนของโปรแกรมผ่านความร่วมมือและการกระจายทรัพยากร

  1. การเสริมพลังบวกและการมีส่วนร่วม – เราสนับสนุนการเสริมพลังให้กับเยาวชน LGBTQI+ และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพวกเขา                          
  2. ความเสมอภาคและเป็นมิตรกับ LGBTQI+ วัยรุ่น หรือเยาวชน – เรามุ่งมั่นที่จะให้สังคมมีส่วนร่วมและตระหนักถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงกันในงานของเรา เราเป็นตัวแทนของ LGBTQI+ ทั้งหมด และบริการของเรายังเป็นมิตรกับเยาวชน LGBTQI+ อีกด้วย
  3. การไม่เลือกปฏิบัติและความเสมอภาค – เรามุ่งมั่นที่จะรับประกันสิทธิที่เท่าเทียมกันสำหรับ LGBTQI+ รวมถึงการเข้าถึงบริการคุณภาพเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสุขภาพและความยุติธรรม ที่ผู้อื่นในสังคมมีให้
  4. การทำงานร่วมกัน ความร่วมมือ และการทำงานเป็นทีม เราแสวงหาความร่วมมืออย่างจริงจังเพื่อให้เราสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
  5. ความเห็นอกเห็นใจ ความเห็นอกเห็นใจ และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เราตระหนักถึงความทุกข์ทรมานของ LGBTQI+ รุ่นเยาว์จากความรุนแรง การกลั่นแกล้ง การตีตรา และการเลือกปฏิบัติ และมุ่งมั่นที่จะยกระดับการคุ้มครองและยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชน

มูลนิธิเอ็มพลัสมี พื้นที่ดำเนินการทั้งหมด 9 จังหวัด แบ่งเป็นตั้งสำนักงานมูลนิธิ และ ขึ้นทะเบียนเป็นคลินิกเทคนิคการแพทย์ 4 แห่ง และ ดำเนินการ ภายใต้ความร่วมมือกับ ภาครัฐ และโรงพยาบาลในจังหวัด อีก 5 พื้นที่ พื้นที่ดำเนินงานที่มีสำนักงานและคลินิกเทคนิคการแพทย์ตั้งอยู่

  1. สำนักงานมูลนิธิเอ็มพลัส สำนักงานใหญ่ จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ บ้านเลขที่ 142 หมู่ที่ 1 ซอยชมจันทร์ ตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่  จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50100
    • ขึ้นทะเบียนเป็นคลินิกเทคนิคการแพทย์เอ็มพลัส วันที่ 29 มีนาคม 2560
  2. สำนักงานมูลนิธิเอ็มพลัส สาขาเชียงราย ตั้งอยู่อาคารเลขที่ 997/5 ถนนสถานพยาบาล  ตำบลรอบเวียง  อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย  รหัสไปรษณีย์ 57000
    • ขึ้นทะเบียนเป็นคลินิกเทคนิคการแพทย์เอ็มพลัสเชียงราย วันที่ 8  พฤษภาคม 2562
  3. สำนักงานมูลนิธิเอ็มพลัส สาขาพิษณุโลก ตั้งอยู่อาคารเลขที่. 262/19-22 ซอยราษฎ์อุทิศ ถนนบรมไตรโลกนารถ. ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก  รหัสไปรษณีย์ 65000
    • ขึ้นทะเบียนเป็นคลินิกเทคนิคการแพทย์เอ็มพลัสพิษณุโลก วันที่ 18 มิถุนายน 2564
  4. สำนักงานมูลนิธิเอ็มพลัส สาขานครราชสีมา ตั้งอยู่อาคารเลขที่     564/1  ถนนช้างเผือก ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา  รหัสไปรษณีย์ 30000
    • ขึ้นทะเบียนเป็นคลินิกเทคนิคการแพทย์เอ็มพลัสนครราชสีมา วันที่ 21 มิถุนายน 2564

พื้นที่ดำเนินการ ที่ทำงานประสานความร่วมมือเป็นการออกหน่วยโมบาย VCT ร่วมกับโรงพยาบาลในพื้นที่ ประกอบด้วย

  • จังหวัดลำปาง
  • จังหวัดตาก
  • จังหวัดเพชรบูรณ์
  • จังหวัดสุโขทัย
  • จังหวัดอุตรดิตถ์
  • จัวหวัดสุรินทร์