อาภากร เพชรสัมฤทธิ์

อาภากร เพชรสัมฤทธิ์

MPLUS วอลเลย์บอลชายจำกัดความสูงไม่เกิน 175 เซนติเมตร รางวัลชนะเลิศ 🏆เอกชัย รองอันดับ1 🏆ข้าวหอม VC รองอันดับ2 🏆Hunter รองอันดับ3 🏆Burnita by น้องขอ B รางวัลโปรโมท VCT 🩸NEW GEN

มูลนิธิเอ็มพลัสเชียงใหม่ ซึ่งเป็นองค์กรแกนนำและเชี่ยวชาญในด้านการป้องกัน HIVและ เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมถึงด้านสุขภาพทางเพศและสิทธิทางเพศในกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ร่วมกับโรงเรียนสันทรายวิทยาคม จัดการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลชายจำกัดความสูงไม่เกิน 175 เซนติเมตรมีทีมเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 24 ทีมจากทั่วทุกภูมิภาคแข่งขันระหว่างวันที่ 1-3 มิถุนายน 2561 ณ.โรงยิมเนเซียมโรงเรียนสันทรายวิทยาคม โดยในพิธีมอบรางวัลในการแข่งขันวันที่ 3 มิถุนายน ได้รับเกียรติจากคุณศุภกาญจ์ แสงทอง ผู้จัดการมูลนิธิเอ็มพลัสเชียงใหม่มอบเงินรางวัลให้แก่ทีมชนะเลิศและรองชนะเลิศทั้ง 4 ทีม และท่านรองเนรมิตร ใจแก้ว รองผู้อำนวยการโรงเรียนสันทรายวิทยาคมให้เกียรติมอบถ้วยรางวัลแก่ทีมที่ได้รับรางวัล โดยมีทีมเข้าร่วมในการแข่งขัน 24 ทีม จากทั่วไปทย ชนะเลิศ ทีมเอกชัย รองชนะเลิศอันดับ 1 ทีมข้าวหอม VC รองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม hunter รองชนะเลิศอันดับ 3 ทีม bernita by น้องขอB 

การอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อการจัดบริการสุขภาพสำหรับกลุ่มประชากรหลักที่ใช้สาร เสพติดในบริบทการมีเพศสัมพันธ์ (Chemsex Intervention) โดย มูลนิธิเอ็มพลัส วันที่ 29 – 31 มีนาคม 2567 @ Nimman Convention Centre

MPLUS THAILAND ขอขอบคุณ IHRI โดยทีม Advocacy & Capacity Building, S&D, และ Implementation Science

MPLUS THAILAND ขอขอบคุณ IHRI โดยทีม Advocacy & Capacity Building, S&D, และ Implementation Science ได้จัดการอบรมหลักสูตร“กลยุทธ์ในการให้การปรึกษา และบริการที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในองค์กรชุมชน” ณ มูลนิธิเอ็มพลัส เพื่อเตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่โครงการก่อนการเริ่มโครงการวิจัยการตรวจและรักษาไวรัสตับอักเสบซีที่นำโดยกลุ่มประชากรหลักในองค์กรชุมชน หรือ Key Population-Led Test and Treat for Hepatitis C in Community-Based Organizations Thailand: A Demonstration Project

MPLUS THAILAND และ ทีม BIRD – Bangkok Interdisciplinary Research and Development เข้าปรึกษาหารือการทำงานร่วมกันกับ โรงพยาบาลธัญญารักษ์ โดยมี นายแพทย์ดลสุข พงษ์นิกร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่ให้การต้อนรับ

MPLUS THAILAND และ ทีม BIRD – Bangkok Interdisciplinary Research and Development เข้าปรึกษาหารือการทำงานร่วมกันกับ โรงพยาบาลธัญญารักษ์ โดยมี นายแพทย์ดลสุข พงษ์นิกร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่ให้การต้อนรับ

‘สิทธิจดทะเบียนสมรสไม่ใช่สิทธิพิเศษของเพศใดเพศหนึ่ง! ‘

#สมรสเท่าเทียมเชียงใหม่ #MarriageEqualityChiangMai วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ที่ว่าการอำเภอเมืองเชียงใหม่ ‘สิทธิจดทะเบียนสมรสไม่ใช่สิทธิพิเศษของเพศใดเพศหนึ่ง! ‘ ขอบคุณประชาชน สื่อมวลชน ห่วยงานภาครัฐ และเครือข่ายทึกคนสำหรับการสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมนี้ขึ้นมา เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจดทะเบียนสมรสสำหรับเพศหลากหลายจะเป็นจริง ขอขอบคุณรูปภาพจาก Lanner #สมรสเท่าเทียม #MarriageEquality #LoveIsLove #LoveWins #LoveWinsThailand #LoveWinsChiangMai #ChiangMaiPride2024 #ThailandPride2024    

เจ้าหน้าที่เอ็มพลัส ได้เข้าร่วม คุ้มครองสิทธิฯ จับมือ Reform Thailand Partnership พัฒนาศักยภาพผู้แทนกลุ่มเปราะบาง สู่การเป็น นิติกรชุมชน นำความยุติธรรมเข้าหาประชาชนอย่างทั่วถึง รวดเร็ว เท่าเทียม

เจ้าหน้าที่เอ็มพลัส ได้เข้าร่วม คุ้มครองสิทธิฯ จับมือ Reform Thailand Partnership พัฒนาศักยภาพผู้แทนกลุ่มเปราะบาง สู่การเป็น นิติกรชุมชน นำความยุติธรรมเข้าหาประชาชนอย่างทั่วถึง รวดเร็ว เท่าเทียม สามารถรับการปรึกษาได้ ที่เบอร์ 053 283108 วันเสาร์ที่ 27 มกราคม 2567 เวลา 09.00 น. ณ โรงแรมทีเค พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ โดยกองสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ร่วมกับ Reform Thailand Partnership จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้แทนกลุ่มเปราะบาง และผู้ที่ทำงานด้านการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางสู่การเป็น “ผู้ช่วยเหลือทางกฎหมายสำหรับกลุ่มเปราะบาง” รุ่นที่ 2 เพื่อพัฒนาศักยภาพ ทักษะ และเพิ่มพูนองค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่กลุ่มเปราะบางต่อการถูกเลือกปฏิบัติ เพื่อเตรียมความพร้อมและยกระดับผู้แทนกลุ่มเปราะบางและผู้ทำงานด้านการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง ให้สามารถทำหน้าที่เป็น “นิติกรชุมชน” ในการช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพให้เข้าถึงความยุติธรรม รวมถึงการชดเชยเยียวยา ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ    

ผู้อำนวยการมูลนิธิเอ็มพลัส คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เอ็มพลัส มอบกระเช้าสวัสดีปีใหม่ให้กับคณะอาจารย์ โรงเรียนมัธยมกัลยาณิวัฒนา พร้อมกับทำกิจกรรม อบรมนักเรียนยุวชนพิทักษ์สิทธิ์ โรงเรียนมัธยมกัลยาณิวัฒนา เรื่อง “สิทธิมนุษยชน” ภายใต้งบประมาณ AJWS

#YoungLGBTIQ #YoungPeople #YouthFriendlyServices #MplusThailand #MplusHealthCenter

จัดงานเปิดศูนย์สุขภาพชุมชนเอ็มพลัส นครราชสีมา และเป็นศูนย์บริการแบบครอบคลุมด้านเอชไอวี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

มูลนิธิเอ็มพลัส ณ ศูนย์สุขภาพชุมชน ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการในระบบ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยได้รับเกียรติจาก พญ.อารีย์ เชื้อเดช รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในพิธี #mplusthailand #mpluskorat

พิธีลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่าง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา เดอะมอลล์ โคราช และ มูลนิธิเอ็มพลัส นครราชสีมา

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2566 มูลนิธิเอ็มพลัสนครราชสีมา จัดพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่าง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา เดอะมอลล์ โคราช และ มูลนิธิเอ็มพลัส นครราชสีมา โดยพิธีจัดขึ้น ณ ห้องประชุมสวนหม่อน โรงพยาบาลมหาราช #mplusthailand #mpluskorat #mplusnakhonratchasima

เปิดศูนย์สุขภาพชุมชนเอ็มพลัสสหลินิก “ศูนย์บริการแบบครอบคลุม ด้านเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์”

เปิดศูนย์สุขภาพชุมชนเอ็มพลัสสหลินิก “ศูนย์บริการแบบครอบคลุม ด้านเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์” มูลนิธิเอ็มพลัส จัดงานเปิดศูนย์สุขภาพชุมชนเอ็มพลัสสหคลินิก เชียงใหม่ “การจัดบริการแบบครอบคลุมด้านเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ” ณ ศูนย์สุขภาพชุมชน ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยการสนับสนุนจากองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) ภายใต้แผนงานฉุกเฉินของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเพื่อบรรเทาปัญหาเอดส์ (PEPFAR) ผ่านโครงการ EpiC ประเทศไทย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และมูลนิธิสถาบันเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวี (IHRI) มูลนิธิเอ็มพลัส จึงสามารถขยายการให้บริการไปยังกลุ่มประชากรหลักในจังหวัดเชียงใหม่ ภายในงาน นายแพทย์จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้เกียรติเป็นประธาน โดยมี 1.คุณแอนดรูส์ เลห์ฮี ผู้แทนกงสุลใหญ่ สถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา ประจำจังหวัดเชียงใหม่ 2.คุณวรวิทย์ ชัยสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ 3.คุณเจนนิเฟอร์ อีรี่ ผู้อำนวยการสำนักงานสาธารณสุข องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา 4.แพทย์หญิงชีวนันท์ เลิศพิริยสุวัฒน์ ผู้อำนวยการกองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 5.ดร. ชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ 6.ดร. วุฒิพงศ์ ถายะพิงค์ ประธานมูลนิธิเอ็มพลัส เข้าร่วมแสดงความยินดีในความก้าวหน้า …

เปิดศูนย์สุขภาพชุมชนเอ็มพลัสสหลินิก “ศูนย์บริการแบบครอบคลุม ด้านเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์” Read More »

การจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานและสหกิจศึกษา Cooperative and Work Integrated Education: CWIE ณ ห้องประชุมเอื้องไอยเรศ ชั้น 2 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ใหม่

วันศุกร์ ที่ 21 กรกฎาคม 2566 ทีมผู้บริหารมูลนิธิเอ็มพลัส นำทีมโดยคุณพงศ์ภีระ พัฐภีระพงศ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิเอ็มพลัส เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ การจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานและสหกิจศึกษา Cooperative and Work Integrated Education: CWIE ณ ห้องประชุมเอื้องไอยเรศ ชั้น 2 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ใหม่

วันที่ 21 กรกฎาคม หรือ “วันรณรงค์ ทั่วโลกปราศจากการตีตราอันเนื่องมาจากเอชไอวี”

วันที่ 21 กรกฎาคม หรือ “วันรณรงค์ ทั่วโลกปราศจากการตีตราอันเนื่องมาจากเอชไอวี” มุ่งเน้นไปที่การขจัดการตีตราและการเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากเอชไอวี ต่างจากวันที่ 1 มีนาคม ของทุกปี หรือ “วันรณรงค์ปราศจากการเลือกปฏิบัติ” ที่เน้นการขจัดการเลือกปฏิบัติที่มากกว่าเอชไอวี “Human First” เป็นหัวข้อรณรงค์ วันที่ทั่วโลกปราศจากการตีตราอันเนื่องมาจากเอชไอวีในปี 2023 เพื่อเน้นย้ำมิติความเป็นมนุษย์ของผู้ที่มีเอชไอวีและได้รับผลกระทบจากเอชไอวี ที่ควรได้รับสิทธิความเป็นมนุษย์เฉกเช่นมนุษย์ทุกคน ให้เห็นมนุษย์ ไม่ใช่เห็นแต่ไวรัส และการเลือกปฏิบัติใดๆ ต่อผู้มีเอชไอวีควรถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน   ข้อเสนอเพื่อการขจัดการตีตราอันเนื่องมาจากเอชไอวี https://zerohivstigmaday.org/wp-content/uploads/2023/07/ZeroHIVStigmaDay_Toolkit.pdf ตระหนักในศักดิ์ศรี สุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดี รวมถึงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ที่มีเอชไอวีและได้รับผลกระทบจากเอชไอวีทุกคน ลดความกลัวในการเอ่ยถึงสถานะการมีเอชไอวีและการโดดเดี่ยวจากสังคม และสร้างเสริมให้คนใช้ชีวิตอย่างเปิดเผยและเป็นตัวตนของตัวเองมากขึ้น ผลักดันให้เกิดความต้องการตรวจหาสถานะของการมีเอชไอวี ที่นำไปสู่การรู้ว่ามีเอชไอวีแต่เนิ่นๆ และเข้าสู่กระบวนการรักษาเอชไอวี การดูแล บริการทางสังคมที่นำไปสู่ภาวะกดไวรัสได้จนตรวจไม่พบไวรัสในเลือดและไม่ส่งต่อไวรัสให้กับคนอื่นได้ (U = U) สร้างสภาพแวดล้อมที่ทำให้การพูดคุยเรื่องเอชไอวีทำได้อย่างเปิดเผย ส่งเสริมข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งผ่านและการป้องกันไวรัส และส่งเสริมให้คนยอมรับวิธีการป้องกัน อาทิ การป้องกันด้วยยาต้านไวรัสก่อนการสัมผัสเชื้อ (PrEP) และกลยุทธ์ต่างๆ ของการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด (Harm Reduction) ผลักดันให้เกิดความเสมอภาคของทุกคนในการเข้าถึงการดูแลสุขภาพ การป้องกัน และการรักษา …

วันที่ 21 กรกฎาคม หรือ “วันรณรงค์ ทั่วโลกปราศจากการตีตราอันเนื่องมาจากเอชไอวี” Read More »